..=>คำสอนหลวงพ่อเรื่อง "การทรงอารมณ์จิตเพื่อความเป็นพระโสดาบัน"<=..
.. ก่อนที่จะเป็นผู้มีฌาน จะต้องทำ
จิตใจของตนไม่ให้ทุรนทุราย ไม่ยุ่งกับ
กิจการของชาวบ้าน "ใครเขาจะดี ใคร
เขาจะเลว ที่ไหน ให้ถือว่าเป็นเรื่องของ
ชาวบ้าน ไม่เอาเรื่องของชาวบ้านมาเป็น
อารมณ์"
ไม่มีจิตอิจฉาริษยาบุคคลใด เขาดี
เท่าไหร่เขาชั่วเท่าไหร่เป็นเรื่องของเขา
"เรายุ่งอยู่กับตัวของเรา พิจารณาหาความ
ชั่วของตัว" ว่าวันหนึ่งๆ จิตของเราชั่วกี่ครั้ง
เราคิดไปยุ่งกับชาวบ้านคิดนอกเรื่องนอก
ราวจากอำนาจของธรรมะมีบ้างไหม
ใคร่ครวญหาเหตุหาผลหาความชั่ว
ของตัวให้พบ เมื่อเห็นว่าจิตชั่วมีความ
อิจฉาริษยาชาวบ้าน ไปยุ่งกับเรื่องของ
ชาวบ้านว่าคนนั้นดี คนนั้นชั่วอย่างนั้น
อย่างนี้ นั่นแสดงว่า "จิตของเราฟุ้งซ่าน
เกินพอดีนอกอารมณ์ของฌาน"
ให้ระงับอารมณ์อย่างนี้เสีย ตัดมานะ
ตัดความถือตัวถือตนว่า "เราดีกว่าเขา
เราเสมอเขา เราเลวกว่าเขา" คิดเสียว่า
คนทุกคนมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น มี
ความแปรปรวนในท่ามกลาง แล้วก็ตาย
ในที่สุดเหมือนกัน
ไม่มีใครดี ไม่มีใครชั่วกว่ากัน ตัด
อารมณ์ยุ่งภายนอก แล้วนอกจากนั้นก็
สร้างจิตให้ประกอบไปด้วยความเมตตา
ปรานี มีความสงสารในบุคคลและสัตว์
ไม่อิจฉาริษยาบุคคลอื่น เมื่อบุคคลอื่น
เขาได้ดีพลอยยินดีด้วย
เมื่อจิตประกอบไปด้วยความเมตตา
ปรานี จิตของบุคคลนั้นก็จะแช่มชื่น จะ
ทรงฌานอยู่ตลอดกาลตลอดสมัย เมื่อจิต
อยู่ในอารมณ์แช่มชื่นอย่างนี้ มาพิจารณา
ขันธ์ ๕ ว่า "ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
เราไม่มีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ ไม่มีในเรา"
เราคือจิตที่เข้ามาอาศัยเรือนร่าง
กล่าวคือขันธ์ ๕ เพียงชั่วคราว ไม่ช้าไม่
นานเท่าไหร่ขันธ์ ๕ มันพังทลาย เราก็จะ
ไปสู่ชาติภพอันเป็นไปตามอำนาจกฎ
ของกรรม นี่เมื่อจิตรู้อย่างนี้แล้วชื่อว่า
"จิตของบุคคลนั้นเป็นผู้มีจิต
ประกอบไปด้วยสติสัมปชัญญะ"
จิตจึงจะมีกำลังสามารถนำวิปัสสนา
ญาณ คือ "นิพพิทาญาณ ความเบื่อหน่าย"
และ "สังขารุเปกขาญาณ ความวางเฉยใน
สังขาร" โดยยึดเอาอริยสัจ เห็นว่าสังขาร
ทั้งหลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
มาให้ปรากฏแก่จิต
จิตก็จะไม่พัวพันอยู่ในสังขาร จิตก็
จะยึดมั่นในคุณพระรัตนตรัย แล้วจิตก็จะ
ทรงไว้ซึ่งศีลทั้ง ๕ ประการให้บริสุทธิ์
ผุดผ่องอย่างนี้ เมื่อรักษาระดับจิตได้
อย่างนี้จึงจะเป็นพระโสดาบันได้ ..
(พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน)
ที่มาจาก.. ธัมมวิโมกข์ ฉบับที่ ๔๓๐ หน้าที่ ๒๖-๒๗
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น